ข่าวกิจกรรม / วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 14.00 น. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา สนับสนุนการฝึกบินควบคุมไฟป่าและหมอกควัน

วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 14.00 น. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่กวงอุดมธารา สนับสนุนการฝึกบินควบคุมไฟป่าและหมอกควัน

25 ธ.ค. 2566

               นายอัธยา อรรณพเพ็ชร ผคบ.แม่กวงอุดมธารา ให้การสนับสนุนกองทัพอากาศ อนุญาตให้เฮลิคอปเตอร์ดำเนินการดูดน้ำในเขื่อนแม่กวงอุดมธารา เพื่อการฝึกซ้อมในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อดำเนินการฝึกและสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

               เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2566 ที่กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดการฝึกบินควบคุมไฟป่าและหมอกควัน ประจำปี 2567 ซึ่งกองทัพอากาศได้ร่วมกับกองทัพภาคที่ 3 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับกำลังพลและยุทโธปกรณ์ ในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ตามนโยบายของรัฐบาล โดยบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการฝึกและสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
                ปัญหานี้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลถือเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องให้ทุกคนได้ปฏิบัติให้เกิดเป็นผลสำเร็จการป้องกันไฟป่าและหมอกควัน เป็นเรื่องที่ทำต่อเนื่องกันมาหลายปี ไม่สามารถทำได้เฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งต้องบูรณาการจากทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงฝ่ายท้องถิ่น แม้จะทุ่มเทแก้ไขปัญหามาโดยตลอด แต่ปัญหาดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี ปัญหาใหญ่ที่ค้นพบเกิดจากประชาชนที่ยังขาดจิตสำนึกและขาดการตระหนักรู้ถึงภยันตรายของหมอกควันไฟป่า ฉะนั้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เชื่อว่าฝ่ายปกครอง ฝ่ายท้องถิ่นได้พยายามอย่างเต็มกำลัง แต่เมื่อเกิดแล้วการสกัดและยับยั้งในช่วงกลางน้ำและปลายน้ำถือเป็นภารกิจที่ต้องทำร่วมกัน กองทัพและกระทรวงกลาโหม ถือเป็นภารกิจสำคัญ ที่ผ่านมาการสนธิกำลังอาจไม่ชัดเจน ในปี 2567 มีการเตรียมการตั้งแต่ต้น โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการขึ้น และปฏิบัติตามกันอย่างเป็นระบบและในปีนี้ดำเนินการก่อนเวลาที่ปฏิบัติกันมาในทุกปีคือช่วงมกราคม เชื่อว่าความพร้อมประกอบกับการตื่นตัว การสนธิกำลัง และการฝึก จะช่วยให้แก้ปัญหานี้ได้แต่ก็มีปัจจัยเชิงลบและทำให้ทำงานหนักขึ้น เช่น สภาพดินฟ้าอากาศทั่วไป ซึ่งปรากฏการณ์เอลนีโญ่ เมื่อมาก็จะมีความแห้งมากขึ้นและทอดยาวไปจากที่จะจบสิ้นโดยเร็วประมาณพฤษภาคม ซึ่งต้องเตรียมแผนปฏิบัติการต่อเนื่อง 
              ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวเกิดจากประเทศเพื่อนบ้านต้องแก้ที่ต้นเหตุคือการประสานเพื่อนบ้าน ซึ่งรัฐบาล         ได้ประสานอยู่ 2 - 3 ประเทศ ในส่วนของคนไทยฝ่ายปกครองและฝ่ายเกษตรเข้าไปแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยมีมาตรการรับซื้ออ้อยสด ถือว่าช่วยได้ในพื้นที่ราบ ส่วนการสนับสนุนงบประมาณนั้น ทางรัฐบาลให้แต่ละหน่วยงาน    ที่รับผิดชอบตั้งงบและยังมีงบกลางสำรองไว้ ขณะที่ปัญหาพีเอ็ม 2.5 ในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่มาจากควัน การก่อสร้าง ต้องแก้ปัญหาคนละแบบกับพื้นที่อื่น
            สำหรับการฝึกในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-22 ธันวาคม 2566 โดยจัดอากาศยานจากหน่วยต่างๆ   เข้าร่วมการฝึก ประกอบด้วย EC-725 2 เครื่อง , UAV Aerostar BP 1 ระบบ, C-130H 1 เครื่อง, AU-23 1 ,เครื่อง BT-67 1 เครื่อง ,DA-42MNG 1 เครื่อง C-130H 1 เครื่อง ,AU-23 1 เครื่อง ,BT-67 1 เครื่อง KA 32 1 เครื่อง ,AS350B2 2 เครื่อง , Kodiak 100 1 เครื่อง , AS350B2 1 เครื่อง, Drone DJI Matric 300 RTK 1 โดยวางแผนการฝึก 47 เที่ยวบิน โดรน ขนาดเล็ก 2 เที่ยวบิน